วันอาทิตย์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2553

พระพุทธศาสนากับการแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน (1) : ผศ.ดร.สุวิญ รักสัตย์


เกริ่นนำ

ก่อนอื่นจะต้องยอมรับความจริงของโลกก่อน โลกมีความเกิดขึ้นและเสื่อมไปในที่สุด โลกก็เปรียบเหมือนสิ่งมีชีวิตอย่างหนึ่งที่มีเกิดขึ้น มีเจริญเติบโต และก็มีอันต้องสิ้นสลายไป เมื่อเข้าใจโลกอย่างนี้ก็จะสามารถมองปัญหาที่เกิดกับโลกอยู่ในขณะนี้ได้อย่างไม่เป็นทุกข์เป็นร้อน ถ้าจะพูดให้เห็นภาพชัดขึ้น โลกขณะนี้เปรียบเหมือนคนที่มีอยู่อายุประมาณ ๕๐ ที่ป่วยเป็นโรครุมเร้าหลายโรค ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจ เบาหวาน มะเร็ง ธารัสซีเมีย (Thalassemia) วัณโรค ถุงลมโป่งพอง หืดหอบ เป็นต้น รวมทั้งโรคที่ตามมาอีกคือ โรคเครียด กังวล ประสาท จิต รักษาโรคหนึ่งอาจหายได้ก็ยังเหลือโรคอื่นๆ อีก โรคแต่ละโรคนั้นก็รักษาต่างๆ กัน เชื่อมโยงหากัน ใครที่เคยเห็นคนเป็นโรครุมเร้าหลายโรคอย่างนี้ เห็นแล้วก็รู้สึกอ่อนใจว่าจะรักษาอย่างไรดี ไม่รักษาก็มีแต่จะทรุดลงเรื่อยๆ การเปรียบเทียบโลกเช่นนี้สอดคล้องกับแนวคิดของเจมส์ เลิฟล๊อค (James Lovelock) ที่ได้เสนอสมมติฐานเรื่อง Gaia ว่า โลกนี้เป็นหน่วยแห่งชีวิตหน่วยหนึ่งที่มีองค์ประกอบหน่วยชีวิตย่อยๆ เช่น หัวใจ ปอด ตับ ทุกหน่วยดูราวกับทำหน้าที่เฉพาะของตัวเอง แต่ที่สุดแล้วทุกหน่อยก็ดำรงอยู่เพื่อชีวิตที่เป็นองค์รวม เขาเชื่อว่า ทุกหน่วยชีวิตในโลกคือส่วนหนึ่งของชีวิตโลก ที่เรียกว่า Gaia ซึ่งก็หมายถึงแม่ผู้ให้กำเนิด1

โดยปกติโลกก็ชราภาพลงบ้าง แม้ไม่มีมนุษย์อยู่บนโลกนี้ โลกก็ต้องเสื่อมลงตามกาล แต่พอมีมนุษย์อยู่บนโลก มนุษย์ก็ซ้ำเติมโลกด้วยสิ่งที่เป็นพิษทั้งหลาย เป็นการช่วยกันเร่งปฏิกิริยาให้มีผลกระทบมากยิ่งขึ้นโดยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ คิดว่า จะหาเงินมารักษาโรคโดยวิธีการตั้งโรงงานค้าไม้ โรงงานขุดเจาะบ่อน้ำมัน โรงงานผลิตรถยนต์ โรงงานยาสูบ เป็นต้น แต่ละโรงงานนั้นล้วนมีส่วนส่งผลโดยตรงกับสภาพของโรค แต่เพื่อต้องการเงินมารักษาจึงจำเป็นต้องทำ ที่ซ้ำร้ายไปกว่านั้นกลับคิดว่า การทำเช่นนี้คือความเจริญรุ่งเรืองของมนุษยชาติ การเผาผลาญพลังงานและทรัพยากรของโลกอย่างเมามันเพื่อให้เห็นภาพว่า มนุษย์กำลังจะทำให้โลกเจริญขึ้น นี่คือเหตุผลของคนที่กำลังจะรักษาโรคของโลก


ปัญหาภาวะโลกร้อน

นักอนุรักษ์โลก (Global Preservationists) ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มวิทยาศาสตร์ กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรโลก กลุ่ม Green Peace หรือกลุ่มอื่นๆ ได้สังเกตภาวะผิดปกติที่เกิดขึ้นกับโลก โดยสังเกตจากอุณหภูมิสูงขึ้น คลื่นความร้อนรุนแรงขึ้น ภัยแล้ง น้ำท่วม พายุ ฤดูกาลแปรปรวน น้ำแข็งขั้วโลกละลาย ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น และภัยพิบัติต่างๆ โดยเฉพาะเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นถี่ในระยะนี้ แต่ละเหตุการณ์นั้นได้ทำลายชีวิตและทรัพย์สินไปเป็นจำนวนมาก เมื่อตรวจสอบสาเหตุหลักๆ ก็พบว่า หนึ่งในสาเหตุทั้งหลายก็คือ ภาวะก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Effect)

ปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและโลกร้อน (Climate Change & Global Warming) ที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศของโลก โดยประเทศอุตสาหกรรมใหญ่ทั้งหลาย มีบทความที่กล่าวถึงวิกฤตสิ่งแวดล้อมที่ไม่ค่อยดีนัก ก็คือ

) บทความวิชาการเรื่อง "Forecasting the path of China"s CO2 emissions using province-level information" โดยทีมนักวิจัย Dr. Maximilian Auffhammer กับ Richard T. Carson แห่ง University of California ลงพิมพ์ใน Journal of Environmental Economics and Management (Volume 55 Issue 3, May 2008, pp. 229-247) เล่มล่าสุดอันเป็นวารสารทางการของสมาคมนักเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากร ระบุว่า จากฐานข้อมูลล่าสุดในระดับมณฑล ๓๐ จุดที่เก็บรวบรวมโดยหน่วยงานป้องกันสิ่งแวดล้อมของทางการจีนเอง ในปี ค..๒๐๐๔ ซึ่งใช้คาดการณ์แนวโน้มการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอนาคต ได้แม่นยำกว่าข้อมูลระดับชาติของจีนที่ใช้กันแพร่หลายนั้น ปรากฏว่าจีนเริ่มปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนับแต่ปี ค.. ๒๐๐๒ เป็นต้นมา และจีนน่าจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยรวม แซงหน้าสหรัฐอเมริกา กลายเป็นประเทศก่อมลพิษใหญ่ที่สุดในโลกไปเรียบร้อยแล้ว ในราวปี ค..๒๐๐๖-๒๐๐๗ นี่เอง

) องค์การมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งชาติของอเมริกา (National Oceanic and Atmospheric Administration - NOAA) ระบุในรายงานดัชนีก๊าซเรือนกระจกฉบับล่าสุด สำหรับปี ค..๒๐๐๗ ว่าปีที่แล้วปีเดียว ระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศทั่วโลก อันเป็นตัวการหลักที่ทำให้ภูมิอากาศโลกเปลี่ยนไป ได้พอกพูนเพิ่มเติมขึ้นอีก ๐.% หรือ ๑๙ ล้านกิโลตัน (๑ กิโลตัน = ,๐๐๐ เมตริกตัน) ซึ่ง ๒๐% ของปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เหล่านี้ จะคงหลงเหลือตกค้างอยู่ในชั้นบรรยากาศโลกอีกนับพันๆ ปี

นั่นหมายความว่า รอบปีที่ผ่านมา มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น ๒.๔ โมเลกุลในอากาศของโลกทุกๆ ๑ ล้านโมเลกุล ทำให้ขณะนี้ยอดสะสมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศโลกขึ้นไปถึง ๓๘๕ ppm (parts per million หรือนัยหนึ่ง ๓๘๕ ส่วนต่อล้านส่วน) แล้ว เทียบกับระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศโลกก่อนยุคอุตสาหกรรมซึ่งอยู่แถวๆ ๒๘๐ ppm จนถึงปี ค..๑๘๕๐

ที่น่าสังเกตและน่าวิตกด้วยคือ อัตราการเพิ่มก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศโลก มีแนวโน้มเร่งเร็วขึ้น ในหลายทศวรรษที่ผ่านมา พร้อมกับการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลมากขึ้น กล่าวคือในคริสต์ทศวรรษที่ ๑๙๖๐ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นราว ๑ ppm/ปี, แล้วเร่งขึ้นเป็น ๑. ppm/ปี ในคริสต์ทศวรรษที่ ๑๙๘๐, จนขึ้นถึง ๒ ppm/ปีนับแต่ ค..๒๐๐๐ เป็นต้นมา2

ตามหลักการที่ทั่วโลกให้การศึกษา ภาวะก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Effect) คือ กระบวนการลูกโซ่ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในทางที่ผิด เป็นความไม่เข้าใจในผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับโลกใบนี้ ภาวะนี้เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาของรังสีแสงอาทิตย์ ชั้นบรรยากาศ อากาศ กับไอน้ำ โดยปกติบรรยากาศของโลกที่ประกอบด้วยไนโตรเจน ออกซิเจน อาร์กอน คาร์บอนไดออกไซด์ โอโซน และไอน้ำ จะทำหน้าที่ในการดูดซับรังสีอินฟราเรดที่ลงมาบนโลก ส่วนรังสีคลื่นสั้นก็จะสะท้อนออกไป แต่หลังจากที่มนุษย์ได้สร้างอุตสาหกรรมปล่อยมลพิษ ตัดไม้ ทำลายป่า กระบวนการปกติของโลกก็ถูกกระทบทำปฏิกิริยารูปแบบใหม่ขึ้น ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน และไนตรัสมีมากขึ้น ก๊าซเหล่านี้ทำให้เกิดความเข้มข้นของไอน้ำในบรรยากาศจนเกิดเป็นภาวะเรือนกระจก หรือภาวะตู้อบไอน้ำนั่นเอง นอกจากนั้น ก๊าซที่เกิดจากการปล่อยออกไปนั้นกลับกลายเป็นก๊าซพิษ ทำลายชั้นบรรยากาศทำให้รังสีคลื่นสั้นของแสงอาทิตย์ลงมาบนพื้นโลกได้ อีกทั้งไม่สามารถดูดซับรังสีอินฟราเรดได้



เมื่อรังสีเหล่านี้ก็จะทำปฏิกิริยากับชีวิตพืชสัตว์ทุกชนิดบนโลก บางชนิดที่ปรับตัวได้ก็อยู่ได้ต่อไป บางชนิดที่ปรับตัวไม่ได้ก็จะสูญพันธุ์ไป สำหรับมนุษย์นั้นผลกระทบโดยตรงต่อผิวหนัง รังสีนี้ได้ก่อให้เกิดการสร้างเซลล์มะเร็งขึ้น ผู้คนบนโลกจะเป็นโรคมะเร็งผิวหนังมากขึ้น ซึ่งนี่ก็เป็นกระบวนปรับตัวอย่างหนึ่งของชีวิตมนุษย์ ส่วนผลกระทบอื่นๆ ที่เป็นลูกโซ่นั้นไม่สามารถคาดคำนึงได้มีมหาศาล

หนึ่งในบรรดาปัญหาทั้งหลายที่สืบเนื่องจากภาวะเรือนกระจก ก็คือ ปัญหาภาวะโลกร้อน (Global Warming) ปัญหานี้กำลังนำไปสู่ความกังวลของกลุ่มอนุรักษ์โลก ภาวะโลกร้อน หมายถึง ภาวะที่อุณหภูมิสูงสุดเพิ่มสูงขึ้น คลื่นความร้อนเพิ่มขึ้น วันที่ร้อนยาวนานขึ้นและวันที่เย็นลดลง อุณหภูมิต่ำสุดลดลง ดังกราฟนี้

_____________________
1 ดร. สุทธาธร สุวรรณรัตน์, สนทนาเรื่องโลกมีชีวิตตามแนวคิดทฤษฎีกายา (), ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดูใน http://www.midnightuniv.org/midnight2544/0009999913.html (๒๕ มีนาคม ๒๕๕๓)

2 รศ.ดร.เกษียร เตชะพีระ, วิกฤตเศรษฐกิจ-วิกฤตโลก: วิกฤตหลายเชิงในยุคโลกาภิวัตน์, คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, รายละเอียดดูในมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน http://www.midnightuniv.org/midnighttext/ 0009999752.html (๓๐ มีนาคม ๒๕๕๓).

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น